ปรัชญา วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์การเรียนรู้ และความสำคัญของหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตร
การพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ความก้าวหน้าทางการศึกษาและเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. มีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์ของวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงานที่ส่งผลให้เกิดการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
2. มีความสามารถในการพัฒนางานวิจัย และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
3. ปฏิบัติตนตามคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษา และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
1. วิเคราะห์และสังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการความรู้ในเนื้อหา ศาสตร์การสอนและเทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ชุมชน และสังคม โดยใช้วิจัยเป็นฐาน
3. พัฒนาและเผยแพร่งานวิจัยด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
ความสำคัญของหลักสูตร
สถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและโลกในปัจจุบันที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน คลุมเครือ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา ทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและสังคมที่ปรับเข้าสู่สังคมผู้อายุ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของมนุษย์ ตลอดจนวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ชีวิตมนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตจึงต้องพัฒนาทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถปรับตัวสร้างสรรค์นวัตกรรมและต่อยอดความรู้ให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถดำรงอยู่ในโลกวิถีใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ ต้องเชื่อมโยงโลกของการเรียนและ การทำงานตลอดชีวิต ส่งเสริมการพัฒนา ต่อยอดงานวิจัยหรือนวัตกรรมการศึกษา เพื่อผลิตกำลังคนตามความต้องการของประเทศและเตรียมพร้อมบุคลากรสำหรับโลกอนาคต ดังแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) ที่เน้นการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ด้วยการปรับเปลี่ยนระบบ การเรียนรู้โดยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ฐานความรู้และระบบคิดในลักษณะสหวิทยาการและการเรียนรู้เชิงบูรณาการ ที่เน้นการลงมือปฏิบัติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570) ในด้านการพัฒนากําลังคนที่มีสมรรถนะสูง (หมุดหมายที่ 12) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ โดยคนทุกช่วงวัยได้รับ การพัฒนาในทุกมิติ การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต หลักสูตรจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนากลไกต่างๆให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้ผู้เรียนมีชุดความรู้ใหม่ที่มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) จึงได้ทำการพัฒนาหลักสูตรแบบเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-based Learning) โดยกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและโลก เพื่อส่งเสริม การสร้างบัณฑิตให้พร้อมกับการทำงาน สามารถขับเคลื่อนพัฒนางานด้านการศึกษาและการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐาน การวิจัย มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมอันดีงามและเป็นผู้มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพและสอดคล้องกับความต้องการ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยหลักสูตรได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ใช้บัณฑิตและผู้ประกอบการ ผลการสำรวจสรุปได้ว่า บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและ การจัดการเรียนรู้ ควรมีความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานและระดับชั้นเรียน ออกแบบการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐานวิธีวิทยาด้านการจัดการเรียนรู้ สามารถจัด การเรียนรู้ในชั้นเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานจรรยาบรรณวิชาชีพครู พัฒนา/ประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ออกแบบและสร้างเครื่องมือเพื่อวัดและประเมินผลผู้เรียนและพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือการจัดการเรียนรู้ได้ อีกทั้งควรเป็นผู้ที่ใฝ่หาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และมีความกล้าแสดงออกในการนำเสนอ เผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ
จากผลการสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการมาตรฐาน การอุดมศึกษา เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม ศึกษา พุทธศักราช 2565 และรายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ที่ได้กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับปริญญาโทที่ให้ความสำคัญกับความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการนำไปปฏิบัติต่อยอดความรู้และเชื่อมโยงความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรม จรรยาบรรณ คุณลักษณะเฉพาะศาสตร์ วิชาชีพ และสถาบัน โดยพัฒนาผ่านการเรียนรู้ และการฝึกประสบการณ์จากหลักสูตร หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัด การเรียนรู้ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) จึงได้มีการทบทวนผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร ทั้งทางด้านความรู้ ทักษะ คุณลักษณะและคุณธรรม จริยธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิทางการศึกษาที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นสถาบันทางการศึกษาที่เริ่มก่อตั้งจากโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงและพัฒนาเป็นวิทยาลัยการศึกษา ก่อนจะเป็นคณะศึกษาศาสตร์ซึ่งเป็นคณะหลักในการผลิตบัณฑิตทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย อีกทั้งวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ระบุไว้ว่า “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นมหาวิทยาลัยแห่ง การเรียนรู้เพื่อสังคม (Learning University for Society)” มีสมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัยที่เน้นความเชี่ยวชาญ ในการจัดการเรียนรู้ในศาสตร์ การออกแบบหลักสูตรครอบคลุมเนื้อหาที่ทันสมัย มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีจริยธรรม ทางวิชาการ มีความรู้ในศาสตร์ของสาขาวิชามีทักษะการวิจัยที่สามารถพัฒนานวัตกรรมสร้างองค์ความรู้ต่อยอด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย และวิสัยทัศน์ของคณะศึกษาศาสตร์ในการ เป็นองค์กรชั้นนำแห่งการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีความสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ คือ การผลิตและพัฒนาบุคคลเพื่อการรับใช้สังคมที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้น การออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับปัญหาและความจริงในสังคม (Problem-Based) และกระบวนการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-Based) ผู้เรียนสามารถพัฒนานวัตกรรมด้านหลักสูตรและ การจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้องตามศาสตร์ทางวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ ตอบสนองความต้องการของสังคมและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
ด้วยหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้รับผิดชอบผลิตบัณฑิตทางการศึกษาให้เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ สามารถพัฒนางานวิจัยทางการศึกษาและ การจัดการเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณนักวิจัย สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพ และทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะต้องมี การปรับปรุงเพื่อผลิตบัณฑิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นผู้นำทางการศึกษา มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพและพร้อมที่จะรับใช้สังคมและประเทศชาติต่อไป ภาควิชาหลักสูตรและการสอนจึงได้ออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLO) 3 ด้าน ได้แก่ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) พัฒนาหลักสูตรและ การจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการความรู้ในเนื้อหา ศาสตร์การสอนและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้เรียน ชุมชน และสังคม โดยใช้วิจัยเป็นฐาน 3) พัฒนาและเผยแพร่งานวิจัยด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ เพื่อให้หลักสูตรสอดรับกับความต้องการของสังคม โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในพัฒนาพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทย
valid until 2028.