หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
……………………………………………………………………………….
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะศึกษาศาสตร์
- ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษ: Master of Education Program in Educational Science and Learning Management
- ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม: การศึกษามหาบัณฑิต (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้)
ชื่อย่อ: กศ.ม. (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม: Master of Education (Educational Science and Learning Management)
ชื่อย่อ: M.Ed. (Educational Science and Learning Management)
- จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
- อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ลำดับที่ | รายชื่อคณาจารย์ | คุณวุฒิการศึกษา
ตรี-โท-เอก (สาขาวิชา) ปีที่จบ |
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา |
1 | รศ.ดร.ชมนาด
เชื้อสุวรรณทวี
|
ค.บ. (คณิตศาสตร์), 2529
ค.ม. (การศึกษาคณิตศาสตร์), 2532 ปร.ด. (หลักสูตรและการสอน), 2555 |
วิทยาลัยครูเชียงใหม่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร |
2 | ผศ.ดร.ศุภวรรณ สัจจพิบูล | ค.บ. (การมัธยมศึกษา: ภาษาไทย- ภาษาฝรั่งเศส), 2544ค.ม. (การสอนภาษาไทย), 2547ค.ด. (หลักสูตรและการสอน), 2553 |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
3 | ผศ.ดร.ดวงใจ
สีเขียว |
ค.บ. (การมัธยมศึกษา:
วิทยาศาสตร์ทั่วไป-เคมี), 2542 น.บ. (นิติศาสตร์บัณฑิต), 2566
กศ.ม. (บริหารการศึกษา), 2546 ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา), 2561
ค.ด. (การวัดและประเมินผล |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสุโขทัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
- ปรัชญา วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์การเรียนรู้
5.1 ปรัชญาของหลักสูตร
การพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ความก้าวหน้าทางการศึกษาและเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
5.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
5.2.1 มีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์ของวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงานที่ส่งผลให้เกิดการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
5.2.2 มีความสามารถในการพัฒนางานวิจัย และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
5.2.3 ปฏิบัติตนตามคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษา และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
5.3 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
5.3.1 วิเคราะห์และสังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
5.3.2 พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการความรู้ในเนื้อหา ศาสตร์การสอนและเทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ชุมชน และสังคม โดยใช้วิจัยเป็นฐาน
5.3.3 พัฒนาและเผยแพร่งานวิจัยด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
- ความสำคัญของหลักสูตร
สถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและโลกในปัจจุบันที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน คลุมเครือ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา ทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและสังคมที่ปรับเข้าสู่สังคมผู้อายุ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของมนุษย์ ตลอดจนวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ชีวิตมนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตจึงต้องพัฒนาทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถปรับตัวสร้างสรรค์นวัตกรรมและต่อยอดความรู้ให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถดำรงอยู่ในโลกวิถีใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ ต้องเชื่อมโยงโลกของการเรียนและ การทำงานตลอดชีวิต ส่งเสริมการพัฒนา ต่อยอดงานวิจัยหรือนวัตกรรมการศึกษา เพื่อผลิตกำลังคนตามความต้องการของประเทศและเตรียมพร้อมบุคลากรสำหรับโลกอนาคต ดังแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) ที่เน้นการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ด้วยการปรับเปลี่ยนระบบ การเรียนรู้โดยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ฐานความรู้และระบบคิดในลักษณะสหวิทยาการและการเรียนรู้เชิงบูรณาการ ที่เน้นการลงมือปฏิบัติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570) ในด้านการพัฒนากําลังคนที่มีสมรรถนะสูง (หมุดหมายที่ 12) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ โดยคนทุกช่วงวัยได้รับ การพัฒนาในทุกมิติ การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต หลักสูตรจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนากลไกต่างๆให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้ผู้เรียนมีชุดความรู้ใหม่ที่มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) จึงได้ทำการพัฒนาหลักสูตรแบบเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-based Learning) โดยกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและโลก เพื่อส่งเสริม การสร้างบัณฑิตให้พร้อมกับการทำงาน สามารถขับเคลื่อนพัฒนางานด้านการศึกษาและการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐาน การวิจัย มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมอันดีงามและเป็นผู้มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพและสอดคล้องกับความต้องการ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยหลักสูตรได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ใช้บัณฑิตและผู้ประกอบการ ผลการสำรวจสรุปได้ว่า บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและ การจัดการเรียนรู้ ควรมีความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานและระดับชั้นเรียน ออกแบบการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐานวิธีวิทยาด้านการจัดการเรียนรู้ สามารถจัด การเรียนรู้ในชั้นเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานจรรยาบรรณวิชาชีพครู พัฒนา/ประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ออกแบบและสร้างเครื่องมือเพื่อวัดและประเมินผลผู้เรียนและพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือการจัดการเรียนรู้ได้ อีกทั้งควรเป็นผู้ที่ใฝ่หาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และมีความกล้าแสดงออกในการนำเสนอ เผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ
จากผลการสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการมาตรฐาน การอุดมศึกษา เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม ศึกษา พุทธศักราช 2565 และรายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ที่ได้กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับปริญญาโทที่ให้ความสำคัญกับความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการนำไปปฏิบัติต่อยอดความรู้และเชื่อมโยงความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรม จรรยาบรรณ คุณลักษณะเฉพาะศาสตร์ วิชาชีพ และสถาบัน โดยพัฒนาผ่านการเรียนรู้ และการฝึกประสบการณ์จากหลักสูตร หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัด การเรียนรู้ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) จึงได้มีการทบทวนผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร ทั้งทางด้านความรู้ ทักษะ คุณลักษณะและคุณธรรม จริยธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิทางการศึกษาที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นสถาบันทางการศึกษาที่เริ่มก่อตั้งจากโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงและพัฒนาเป็นวิทยาลัยการศึกษา ก่อนจะเป็นคณะศึกษาศาสตร์ซึ่งเป็นคณะหลักในการผลิตบัณฑิตทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย อีกทั้งวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ระบุไว้ว่า “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นมหาวิทยาลัยแห่ง การเรียนรู้เพื่อสังคม (Learning University for Society)” มีสมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัยที่เน้นความเชี่ยวชาญ ในการจัดการเรียนรู้ในศาสตร์ การออกแบบหลักสูตรครอบคลุมเนื้อหาที่ทันสมัย มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีจริยธรรม ทางวิชาการ มีความรู้ในศาสตร์ของสาขาวิชามีทักษะการวิจัยที่สามารถพัฒนานวัตกรรมสร้างองค์ความรู้ต่อยอด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย และวิสัยทัศน์ของคณะศึกษาศาสตร์ในการ เป็นองค์กรชั้นนำแห่งการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีความสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ คือ การผลิตและพัฒนาบุคคลเพื่อการรับใช้สังคมที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้น การออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับปัญหาและความจริงในสังคม (Problem-Based) และกระบวนการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-Based) ผู้เรียนสามารถพัฒนานวัตกรรมด้านหลักสูตรและ การจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้องตามศาสตร์ทางวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ ตอบสนองความต้องการของสังคมและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
ด้วยหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้รับผิดชอบผลิตบัณฑิตทางการศึกษาให้เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ สามารถพัฒนางานวิจัยทางการศึกษาและ การจัดการเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณนักวิจัย สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพ และทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะต้องมี การปรับปรุงเพื่อผลิตบัณฑิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นผู้นำทางการศึกษา มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพและพร้อมที่จะรับใช้สังคมและประเทศชาติต่อไป ภาควิชาหลักสูตรและการสอนจึงได้ออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLO) 3 ด้าน ได้แก่ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) พัฒนาหลักสูตรและ การจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการความรู้ในเนื้อหา ศาสตร์การสอนและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้เรียน ชุมชน และสังคม โดยใช้วิจัยเป็นฐาน 3) พัฒนาและเผยแพร่งานวิจัยด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ เพื่อให้หลักสูตรสอดรับกับความต้องการของสังคม โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในพัฒนาพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทย
- จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรและโครงสร้างหลักสูตร
7.1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร รวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
7.2 โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
1. หมวดวิชาบังคับ | 12 หน่วยกิต |
2. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 12 หน่วยกิต |
3. หมวดวิชาปริญญานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 หน่วยกิต |
หมวดวิชาบังคับ กำหนดให้เรียน จำนวน 2 ชุดวิชา รวม 12 หน่วยกิต ดังนี้
- ชุดวิชาการจัดการศึกษาร่วมสมัย 5 หน่วยกิต
(Contemporary Educational Management)
ศษ501 การปรับกระบวนทัศน์ทางปรัชญาและจิตวิทยาทางการศึกษาเพื่อการพัฒนา 2(1-2-3)
ED501 Paradigm Shifts in Educational Philosophy and Psychology for Development
ศษ502 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการศาสตร์การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา 2(1-2-3)
ED502 Integrated Learning Management of Pedagogy and Educational Technology
ศษ503 การวิจัยทางการศึกษา 1(0-2-1)
ED503 Educational Research
- ชุดวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ 7 หน่วยกิต
(Educational Science and Learning Management)
วกจ501 การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 3(2-2-5)
ELM501 Curriculum Development and Learning Management
วกจ502 สัมมนาปัญหาและแนวโน้มหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 2(1-2-3)
ELM502 Seminar on Issues and Trends in Curriculum and Learning Management
วกจ503 การวิจัยด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 2(1-2-3)
ELM503 Research for Curriculum and Learning Management
หมวดวิชาเลือก กำหนดให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 2 ชุดวิชา รวมไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต จากชุดวิชาต่อไปนี้
- ชุดวิชาการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนระดับปฐมวัย 6 หน่วยกิต
(Promoting Learning Potential for Early Childhood Learners)
วกจ511 การจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย 2(1-2-3)
ELM511 Early Childhood Learning Management
วกจ512 การออกแบบโปรแกรมการศึกษาและเลี้ยงดูเด็กวัยทารกและวัยเตาะแตะ 2(1-2-3)
ELM512 Educational Program Design and Child Care for Infants and Toddlers
วกจ513 การจัดการเรียนรู้ในช่วงรอยเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ประถมศึกษา 2(1-2-3)
ELM513 Learning Management for the Transition from Kindergarten to First Grade
- ชุดวิชาประเด็นคัดสรรในการศึกษาปฐมวัย 6 หน่วยกิต
(Selected Issues in Early Childhood Education)
วกจ514 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 2(1-2-3)
ELM514 Creative Thinking Development for Children at an Early Age
วกจ515 การพัฒนาเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ระดับปฐมวัย 2(1-2-3)
ELM515 Learning Outcomes Assessment Tools Development for Early Childhood Education
วกจ516 การศึกษาค้นคว้าอิสระด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย 2(0-4-2)
ELM516 Independent Study in Curriculum and Learning Management for Early Childhood Education
- ชุดวิชาการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษา 6 หน่วยกิต
(Promoting the Learning Potential of Learners in Elementary Education)
วกจ521 พฤติกรรมและพัฒนาการของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2(1-2-3)
ELM521 Behavior and Development of Elementary Students
วกจ522 ผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา 2(1-2-3)
ELM522 Learners and the Learning Process in Elementary Education
วกจ523 วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในระดับประถมศึกษา 2(1-2-3)
ELM523 Methodologies of Learning Management for Elementary Learners
- ชุดวิชาประเด็นคัดสรรในการประถมศึกษา 6 หน่วยกิต
(Selected Issues in Elementary Education)
วกจ524 เทคโนโลยีการศึกษาระดับประถมศึกษา 2(1-2-3)
ELM524 Educational Technology in Elementary Level
วกจ525 การสร้างความท้าทายในการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการในระดับประถมศึกษา 2(1-2-3)
ELM525 Creating Challenges in Integrated Learning Management in Elementary Education
วกจ526 การศึกษาค้นคว้าอิสระด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา 2(0-4-2)
ELM526 Independent Study in Curriculum and Learning Management in Elementary Education
- ชุดวิชาการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย 6 หน่วยกิต
(Promoting the Learning Potential of Thai Language Learners)
วกจ531 การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางภาษาไทย 2(1-2-3)
ELM531 Learning Management for Enhancing Thai Language Competency
วกจ532 การจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทย 2(1-2-3)
ELM532 Thai Grammar Learning Management
วกจ533 การจัดการเรียนรู้วรรณคดีและวรรณกรรม 2(1-2-3)
ELM533 Literature and Literary Works Learning Management
- ชุดวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย 6 หน่วยกิต
(Science of Thai Language Learning Management)
วกจ534 การจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาไทย 2(1-2-3)
ELM534 Learning Management through Thai Language Teaching Approaches
วกจ535 สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย 2(1-2-3)
ELM535 Media, Innovation, and Technology in Thai Language Learning Management
วกจ536 การศึกษาค้นคว้าอิสระด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย 2(0-4-2)
ELM536 Independent Study in Curriculum and Thai Language Learning Management
- ชุดวิชาการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
(Promoting the Mathematical Potential for Learners)
วกจ541 การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2(1-2-3)
ELM541 Mathematics Learning Management
วกจ542 การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านคณิตศาสตร์ 2(1-2-3)
ELM542 Activities Arrangement for Promoting Mathematical Proficiency
วกจ543 ประชุมปฏิบัติการสำหรับครูคณิตศาสตร์ 2(0-4-2)
ELM543 Workshops for Mathematics Teachers
- ชุดวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
(Research for Curriculum Development and Mathematics Learning Management)
วกจ544 สถานการณ์และแนวโน้มหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2(1-2-3)
ELM544 Situations and Trends in Mathematics Curriculum and Learning Management
วกจ545 การพัฒนาเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2(1-2-3)
ELM545 Development of Assessment Tools in Mathematics Learning
วกจ546 การศึกษาค้นคว้าอิสระด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2(0-4-2)
ELM546 Independent Study in Curriculum and Mathematics Learning Management
- ชุดวิชาการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
(Promoting the Learning Potential of Science Learners)
วกจ551 การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในยุคดิจิทัล 2(1-2-3)
ELM551 Science Learning Management in the Digital Age
วกจ552 หลักสูตรและกิจกรรมเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์ 2(1-2-3)
ELM553 Curriculum Development and Activities Arrangement for Promoting Science Proficiency
วกจ553 การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ 2(1-2-3)
ELM553 Science Learning Management for Gifted Learners
- ชุดวิชาการพัฒนางานวิจัยด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
(Research Development in Science Learning Management)
วกจ554 การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2(1-2-3)
ELM554 Developing Innovation in Science Learning Management
วกจ555 การพัฒนาเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2(1-2-3)
ELM555 Development of Assessment Tools in Science Learning
วกจ556 การศึกษาค้นคว้าอิสระด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2(0-4-2)
ELM556 Independent Study in Curriculum and Science Learning Management
- ชุดวิชาการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านสังคมศึกษา 6 หน่วยกิต
(Promoting the Learning Potential of Social Studies Learners)
วกจ561 การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะสังคมศึกษา 2(1-2-3)
ELM561 Social Studies Learning Management
วกจ562 สังคมศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง
ELM562 Social Studies for Citizenship Development 2(1-2-3)
วกจ563 สังคมศึกษากับการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม
ELM563 Social Studies in Morality and Ethics Development 2(1-2-3)
- ชุดวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา 6 หน่วยกิต
(Research for Curriculum Development and Social Studies Learning Management)
วกจ564 สัมมนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา 2(1-2-3)
ELM564 Seminar on Curriculum and Social Studies Learning Management
วกจ565 การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา 2(1-2-3)
ELM565 Development of Media, Innovation, and Technology in Social Studies Learning Management
วกจ566 การศึกษาค้นคว้าอิสระด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา 2(0-4-2)
ELM566 Independent Study in Curriculum and Social Studies Learning Management
- ชุดวิชาการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนภาษาอังกฤษ 6 หน่วยกิต
(Promoting the Learning Potential of English Language Learners)
วกจ571 มุมมองทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์และการสอนภาษาอังกฤษ 2(1-2-3)
ELM571 Perspectives in Applied Linguistics and English Language Teaching
วกจ572 การออกแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษร่วมสมัย 2(1-2-3)
ELM572 Contemporary English Language Learning Design
วกจ73 ความเป็นผู้นำในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 2(1-2-3)
ELM573 Leadership in English Language Learning Management
- ชุดวิชาทิศทางการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในปัจจุบัน 6 หน่วยกิต
(Current Trend in English Language Learning Management)
วกจ574 เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 2(1-2-3)
ELM574 Educational Technology for English Language Learning Management
วกจ575 การสร้างความท้าทายในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2(1-2-3)
ELM575 Creating Challenges in English Language Learning Management for communication
วกจ576 การศึกษาค้นคว้าอิสระด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 2(0-4-2)
ELM576 Independent Study in Curriculum and English Language Learning Management
หมวดวิชาปริญญานิพนธ์ กำหนดให้เรียนปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาโท 12 หน่วยกิต
ปพท691 | ปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาโท | 12 หน่วยกิต |
- แผนการศึกษา
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
รหัสวิชา | ชุดวิชา/รายวิชา | หน่วยกิต |
วิชาบังคับ | ||
ชุดวิชา การจัดการศึกษาร่วมสมัย | ||
ศษ501 | การปรับกระบวนทัศน์ทางปรัชญาและจิตวิทยาทางการศึกษาเพื่อการพัฒนา | 2(1-2-3) |
ศษ502 | การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการศาสตร์การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา | 2(1-2-3) |
ศษ503 | การวิจัยทางการศึกษา | 1(0-2-1) |
ชุดวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ | ||
วกจ501 | การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ | 3(2-2-5) |
วกจ502 | สัมมนาปัญหาและแนวโน้มหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ | 2(1-2-3) |
วกจ503 | การวิจัยด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ | 2(1-2-3) |
รวมหน่วยกิต | 12 |
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
รหัสวิชา | ชุดวิชา/รายวิชา | หน่วยกิต |
วิชาเลือก กำหนดให้เลือกเรียนชุดวิชาตามกลุ่มวิชา จำนวน 2 ชุดวิชา | ||
ชุดวิชาที่ 1 | 6 | |
ชุดวิชาที่ 2 | 6 | |
รวมหน่วยกิต ไม่น้อยกว่า | 12 |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | |||
รหัสวิชา | ชุดวิชา/รายวิชา | หน่วยกิต | |
รายวิชาปริญญานิพนธ์ | |||
ปพท691 | ปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาโท | 6 | |
รวมหน่วยกิต | 6 |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
รหัสวิชา | ชุดวิชา/รายวิชา | หน่วยกิต |
รายวิชาปริญญานิพนธ์ | ||
ปพท691 | ปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาโท | 6 |
รวมหน่วยกิต | 6 |
- อาจารย์ประจำหลักสูตร
ลำดับที่ | รายชื่อคณาจารย์ |
1* | รศ.ดร.ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี |
2* | ผศ.ดร.ศุภวรรณ สัจจพิบูล |
3* | ผศ.ดร.ดวงใจ สีเขียว |
4 | รศ.ดร.กิตติชัย สุธาสิโนบล |
5 | ผศ.ดร.ลัดดา หวังภาษิต |
6 | ผศ.ดร.อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง |
7 | ผศ.ดร.สุมาลี เชื้อชัย |
8 | ผศ.ดร.รุ่งอรุณ โรจน์รัตนาดำรง ไชยศรี |
9 | ผศ.ดร.วันเพ็ญ ประทุมทอง |
10 | ผศ.ดร.สุธาวัลย์ หาญขจรสุข |
11 | ผศ.ดร.กัมปนาท บริบูรณ์ |
12 | ผศ.ดร.เกริก ศักดิ์สุภาพ |
13 | อ.ดร.ชิษณุพงศ์ อินทรเกษม |
14 | อ.ดร.สุณิสา สุมิรัตนะ |
15 | อ.ดร.สุธารัตน์ สมรรถการ |
16 | อ.ดร.เกศินี ครุณาสวัสดิ์ |
17 | อ.ดร.รุจน์ ฦาชา |
18 | อ.ดร.ไตร อัญญโพธิ์ |
19 | อ.ดร.พัชริดา อินทมา |
valid until 2028